เผยแพร่เมื่อ/created date: 15 May 2013

กะหนานปลิง

Pterospermum acerifolium Willd.
หูควาย (ประจวบคีรีขันธ์), ตองเต๊า ปอเต๊า (ภาคเหนือ), เต้าแมว (เชียงใหม่), ปอหูช้าง สนานดง สากกะเท้า (อุตรดิตถ์), สลักกะพาด (สระบุรี)
STERCULIACEAE
ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 18-25 ม. เปลือกสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปทรงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่รูปไข่หรือรูปรี ค่อนข้างกว้างจนเกือบเป็นแผ่นกลม ปลายแหลม โคนเว้าลึกคล้ายรูปหัวใจ ดอกเดี่ยว ออกตามง่ามใบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง เกสรเพศผู้สมบูรณ์ 15 อัน แยกออกเป็น 5 มัด มัดละ 3 อัน เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์ 5 อัน เรียงสลับกับมัดเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ รังไข่สั้น รูปทรงกระบอกห้าเหลี่ยม ผลรูปทรงกระบอกห้าเหลี่ยม กว้าง 5-7 ซม. ยาว 14-20 ซม. ปลายแหลมมน โคนผลคอดเรียวเป็นก้านทรงกระบอกแคบๆ ผลแก่แตกออกเป็น 5 เสี่ยง เมล็ดมีจำนวนมาก รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านบนเป็นปีกบางยาว สีชา
อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ในประเทศไทยพบที่จังหวัดเชียงใหม่ แพร่ เพชรบูรณ์ ขอนแก่น กระบี่ และนราธิวาส พบตามป่าดิบ ระดับความสูง 50-400 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ติดผลช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน
ในอินเดียภาคเหนือใช้ดอกเป็นยาฆ่าแมลง บางครั้งใช้ดอกเป็นอาหาร ใช้เป็นไม้ซุง และไม้ฟืน

Flora of Thailand Volume 7 Part 3, Page 602

-

4650 views

แสดงความเห็นและอภิปราย/discuss

   

Your E-mail:

Your Name: